Topic Progress:

การโอนย้ายข้อมูลประเภท ภ.ง.ด.2 ในระบบ RD Prep

              เลือกประเภทการโอนย้ายข้อมูล ภ.ง.ด.2

เมื่อเลือกประเภทการโอนย้ายข้อมูล ภ.ง.ด.2 แล้วจะเข้าสู่หน้าจอหลัก สำหรับการกรอกข้อมูลขั้นต้น

ข้อ.1 หน้าหลัก

ข้อมูลผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรใส่เลขประจำตัวของผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
ประเภทสาขาเลือกประเภทของสาขา
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
3. ไม่มีประเภทสาขา
สาขาที่ใส่เลขที่สาขา
ไฟล์สำหรับการโอนย้ายเลือกไฟล์ที่จะทำการโอนย้ายข้อมูล โดยไฟล์ต้องเป็นสกุล .txt

รายละเอียดการยื่นแบบ

เดือน / ปีภาษีเลือกเดือนปีภาษี ที่จะทำการโอนย้ายข้อมูลโดยจะต้องเลือกให้ตรงกับเดือน / ปีภาษี ในไฟล์ Text
ลำดับการยื่นแบบเลือกลำดับการยื่นแบบว่าเป็นการยื่นปกติ หรือ ยื่นเพิ่มเติม (ครั้งที่)

ตั้งค่ารหัสข้อมูล

รหัสเงินได้กำหนดรหัสค่าข้อมูล
1. เงินได้มาตรา 40(3)   ใช้ค่าข้อมูล WT03
2. เงินได้มาตรา 40(4)(ก)  ใช้ค่าข้อมูล WT04
3. เงินได้มาตรา 40(4)(ข)  ใช้ค่าข้อมูล WT04.1
4. เงินได้มาตรา 40(4)(ช)  ใช้ค่าข้อมูล WT04.2
5. เงินได้มาตรา 40(4) อื่นๆ  ใช้ค่าข้อมูล WT06
รหัสเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายกำหนดรหัสค่าข้อมูล
1. หัก ณ ที่จ่าย   ใช้ค่าข้อมูล   1
2. ออกให้ตลอดไป   ใช้ค่าข้อมูล   2
3. ออกให้ครั้งเดียว   ใช้ค่าข้อมูล   3

รูปแบบการแบ่งข้อมูล

รูปแบบการแบ่งข้อมูลเลือกรูปแบบการแบ่งข้อมูล แบ่งแยกข้อมูลด้วยสัญลักษณ์ >> |แบ่งแยกข้อมูลด้วยตำแหน่งตัวอักษร
บรรทัดแรกคือชื่อคอลัมน์เมื่อปิด ชื่อคอลัมน์จะแสดงด้วยตัวเลข เมื่อปิด ชื่อคอลัมน์จะใช้ตามข้อมูลในไฟล์ Text

รูปภาพ ข้อ.1 หน้าหลัก การโอนย้ายข้อมูลแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.2

ข้อ 2. กำหนดตำแหน่งข้อมูล

              เมื่อกำหนดข้อมูลขั้นต้นในหน้าหลักแล้ว กดถัดไป จะแสดงข้อมูลในข้อ.2  กำหนดตำแหน่งข้อมูล หน้านี้จะบอกถึง ชื่อไฟล์ที่ทำการจะโอนย้าย และ สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งข้อมูล (ส่วนที่ 1) และแสดงข้อมูลจากไฟล์โอนย้ายเพื่อทำการ Mapping field ให้ตรงกัน (ส่วนที่ 2)

การ Mapping ข้อมูลจากไฟล์โอนย้าย กับ ตำแหน่งข้อมูลในระบบ RD Prep (Field ที่จำเป็นจะต้อง Mapping คือ Field ที่มีเครื่องหมาย * สีแดงกำกับไว้)

ตัวอย่างข้อมูลในไฟล์ Text จาก SAP B1

การ Mapping ตำแหน่งข้อมูล

เงินได้ตามมาตรา*กำหนดรหัสเงินได้
ลำดับที่แสดงลำดับของชุดข้อมูลตามตัวอย่างเป็น 2 และ 3
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร*เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
คำนำหน้าชื่อ*คำนำหน้าชื่อ เช่น นางสาว นาย บริษัท
ชื่อ*ชื่อบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
วันเดือนปีที่จ่าย*กำหนดรูปแบบ พ.ศ. หรือ ค.ศ. และรูปแบบของวันเดือนปี ตามวันที่ในไฟล์ Text >> dd/mm/yyyy
อัตราภาษี*อัตราภาษีตามประเภทเงินได้
จำนวนเงินได้ที่จ่าย*จำนวนเงินที่นำมาคิดภาษี (มูลค่าก่อน Vat)
จำนวนภาษีที่หัก*จำนวนเงินภาษีที่จะต้องนำส่ง
เงื่อนไขการหักภาษี*กำหนดรหัสค่าข้อมูล
1. หัก ณ ที่จ่าย   ใช้ค่าข้อมูล   1
2. ออกให้ตลอดไป   ใช้ค่าข้อมูล   2
3. ออกให้ครั้งเดียว   ใช้ค่าข้อมูล   3

รูปภาพข้อ 2. การ Mapping ตำแหน่งข้อมูล

ข้อ 3. ผลการโอนย้ายข้อมูล

              เมื่อทำการ Mapping ข้อมูลครบถ้วนแล้ว กดปุ่มโอนย้ายระบบจะแสดงข้อมูล ผลการโอนย้าย ให้ทำการตรวจสอบข้อมูล

              กรณีที่มีรายการผิดพลาดจะมีรายการแจ้งเตือนและสาเหตุของข้อผิดพลาด

              สรุปรายการภาษีที่นำส่ง ระบบจะแสดงรายละเอียดตามประเภทเงินได้ตามที่กำหนดจากไฟล์ Text

ข้อ 4. สรุปรายการภาษี

              ขั้นตอนสุดท้ายระบบจะแสดงรายละเอียดการยื่นแบบภาษี และสามารถพิมพ์เอกสารใบแนบ และใบยื่นภาษีได้ สำหรับไฟล์ที่ใช้สำหรับ Upload บนเว็บสรรพากรให้กดปุ่ม “บันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูล” ระบบจะสร้างไฟล์ข้อมูลที่เป็นสกุล .rdx สำหรับใช้ Upload