การโอนย้ายข้อมูลประเภท ภ.ง.ด.2 ในระบบ RD Prep
เลือกประเภทการโอนย้ายข้อมูล ภ.ง.ด.2
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-1.png?resize=895%2C454&ssl=1)
เมื่อเลือกประเภทการโอนย้ายข้อมูล ภ.ง.ด.2 แล้วจะเข้าสู่หน้าจอหลัก สำหรับการกรอกข้อมูลขั้นต้น
ข้อ.1 หน้าหลัก
ข้อมูลผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | ใส่เลขประจำตัวของผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก |
ประเภทสาขา | เลือกประเภทของสาขา 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3. ไม่มีประเภทสาขา |
สาขาที่ | ใส่เลขที่สาขา |
ไฟล์สำหรับการโอนย้าย | เลือกไฟล์ที่จะทำการโอนย้ายข้อมูล โดยไฟล์ต้องเป็นสกุล .txt |
รายละเอียดการยื่นแบบ
เดือน / ปีภาษี | เลือกเดือนปีภาษี ที่จะทำการโอนย้ายข้อมูลโดยจะต้องเลือกให้ตรงกับเดือน / ปีภาษี ในไฟล์ Text |
ลำดับการยื่นแบบ | เลือกลำดับการยื่นแบบว่าเป็นการยื่นปกติ หรือ ยื่นเพิ่มเติม (ครั้งที่) |
ตั้งค่ารหัสข้อมูล
รหัสเงินได้ | กำหนดรหัสค่าข้อมูล 1. เงินได้มาตรา 40(3) ใช้ค่าข้อมูล WT03 2. เงินได้มาตรา 40(4)(ก) ใช้ค่าข้อมูล WT04 3. เงินได้มาตรา 40(4)(ข) ใช้ค่าข้อมูล WT04.1 4. เงินได้มาตรา 40(4)(ช) ใช้ค่าข้อมูล WT04.2 5. เงินได้มาตรา 40(4) อื่นๆ ใช้ค่าข้อมูล WT06 |
รหัสเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย | กำหนดรหัสค่าข้อมูล 1. หัก ณ ที่จ่าย ใช้ค่าข้อมูล 1 2. ออกให้ตลอดไป ใช้ค่าข้อมูล 2 3. ออกให้ครั้งเดียว ใช้ค่าข้อมูล 3 |
รูปแบบการแบ่งข้อมูล
รูปแบบการแบ่งข้อมูล | เลือกรูปแบบการแบ่งข้อมูล แบ่งแยกข้อมูลด้วยสัญลักษณ์ >> |แบ่งแยกข้อมูลด้วยตำแหน่งตัวอักษร |
บรรทัดแรกคือชื่อคอลัมน์ | เมื่อปิด ชื่อคอลัมน์จะแสดงด้วยตัวเลข เมื่อปิด ชื่อคอลัมน์จะใช้ตามข้อมูลในไฟล์ Text |
รูปภาพ ข้อ.1 หน้าหลัก การโอนย้ายข้อมูลแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.2
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-2.png?resize=643%2C1024&ssl=1)
ข้อ 2. กำหนดตำแหน่งข้อมูล
เมื่อกำหนดข้อมูลขั้นต้นในหน้าหลักแล้ว กดถัดไป จะแสดงข้อมูลในข้อ.2 กำหนดตำแหน่งข้อมูล หน้านี้จะบอกถึง ชื่อไฟล์ที่ทำการจะโอนย้าย และ สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งข้อมูล (ส่วนที่ 1) และแสดงข้อมูลจากไฟล์โอนย้ายเพื่อทำการ Mapping field ให้ตรงกัน (ส่วนที่ 2)
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-3.png?resize=895%2C454&ssl=1)
การ Mapping ข้อมูลจากไฟล์โอนย้าย กับ ตำแหน่งข้อมูลในระบบ RD Prep (Field ที่จำเป็นจะต้อง Mapping คือ Field ที่มีเครื่องหมาย * สีแดงกำกับไว้)
ตัวอย่างข้อมูลในไฟล์ Text จาก SAP B1
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/image-2.png?resize=895%2C132&ssl=1)
การ Mapping ตำแหน่งข้อมูล
เงินได้ตามมาตรา* | กำหนดรหัสเงินได้ |
ลำดับที่ | แสดงลำดับของชุดข้อมูลตามตัวอย่างเป็น 2 และ 3 |
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร* | เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก |
คำนำหน้าชื่อ* | คำนำหน้าชื่อ เช่น นางสาว นาย บริษัท |
ชื่อ* | ชื่อบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล |
วันเดือนปีที่จ่าย* | กำหนดรูปแบบ พ.ศ. หรือ ค.ศ. และรูปแบบของวันเดือนปี ตามวันที่ในไฟล์ Text >> dd/mm/yyyy |
อัตราภาษี* | อัตราภาษีตามประเภทเงินได้ |
จำนวนเงินได้ที่จ่าย* | จำนวนเงินที่นำมาคิดภาษี (มูลค่าก่อน Vat) |
จำนวนภาษีที่หัก* | จำนวนเงินภาษีที่จะต้องนำส่ง |
เงื่อนไขการหักภาษี* | กำหนดรหัสค่าข้อมูล 1. หัก ณ ที่จ่าย ใช้ค่าข้อมูล 1 2. ออกให้ตลอดไป ใช้ค่าข้อมูล 2 3. ออกให้ครั้งเดียว ใช้ค่าข้อมูล 3 |
รูปภาพข้อ 2. การ Mapping ตำแหน่งข้อมูล
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-5.png?resize=664%2C1024&ssl=1)
ข้อ 3. ผลการโอนย้ายข้อมูล
เมื่อทำการ Mapping ข้อมูลครบถ้วนแล้ว กดปุ่มโอนย้ายระบบจะแสดงข้อมูล ผลการโอนย้าย ให้ทำการตรวจสอบข้อมูล
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-6.png?resize=895%2C602&ssl=1)
กรณีที่มีรายการผิดพลาดจะมีรายการแจ้งเตือนและสาเหตุของข้อผิดพลาด
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-7.png?resize=895%2C637&ssl=1)
สรุปรายการภาษีที่นำส่ง ระบบจะแสดงรายละเอียดตามประเภทเงินได้ตามที่กำหนดจากไฟล์ Text
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-8.png?resize=895%2C315&ssl=1)
ข้อ 4. สรุปรายการภาษี
ขั้นตอนสุดท้ายระบบจะแสดงรายละเอียดการยื่นแบบภาษี และสามารถพิมพ์เอกสารใบแนบ และใบยื่นภาษีได้ สำหรับไฟล์ที่ใช้สำหรับ Upload บนเว็บสรรพากรให้กดปุ่ม “บันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูล” ระบบจะสร้างไฟล์ข้อมูลที่เป็นสกุล .rdx สำหรับใช้ Upload
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-RD-PND2-9.png?resize=895%2C484&ssl=1)