PND 3 – ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลการยื่นชำระรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เงื่อนไขสำหรับการแสดงข้อมูลที่จะนำมาใช้สำหรับการทำรายการ “บันทึกข้อมูลการยื่นชำระรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” รวมถึงการสั่งพิมพ์ แบบยื่นและใบแนบ (PND 3) ได้จากระบบ โดยเงื่อนไขที่มีดังต่อไปนี้
ตัวอย่างหน้าจอ UDO : PND 3
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-PND3-1.png?resize=895%2C386&ssl=1)
ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลเพื่อยื่นชำระ
- ระบุฟิลด์ในส่วนของ Criteria เพื่อจะดึงข้อมูลขึ้นมาแสดง
- ฟิลด์สำหรับการเลือก Criteria บนหน้าจอ UDO : PND 3 ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ดังนี้
- Branch Code สำหรับการระบุเพื่อกรองรายการตาม Transaction Branch ที่มีการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ ซึ่งฟิลด์นี้จะใช้เฉพาะ Database ที่มีการ Config : Multiple Branch ไว้ในระบบเท่านั้น โดยฟิลด์ที่ใช้สำหรับการ Config : Multiple Branch นี้จะอยู่ภายใต้เมนู ดังนี้ Modules Administration > System Initialization > Company Details > Tab Basic Initialization > Fields Enable Multiple Branches
- นำส่งภาษีตาม สำหรับการระบุว่าต้องการยื่นนำส่งภาษีตามมาตราใด
- รายละเอียดใบแนบ สำหรับการะบุว่ารายละเอียดใบแนบที่ยื่นเป็นรูปแบบเอกสารแบบใด
- ทะเบียนรับเลขที่ สำหรับกรณีรายละเอียดใบแนบถูกยื่นในรูปแบบไฟล์ จึงจะต้องมีการระบุหมายเลขทะเบียนรับเลขที่
- เลขอ้างอิงการลงทะเบียน สำหรับกรณีรายละเอียดใบแนบถูกยื่นในรูปแบบไฟล์ จึงจะต้องมีการระบุหมายเลขอ้างอิงการลงทะเบียน
- Document month สำหรับการระบุช่วงเวลาที่มีการบันทึกรายการตามเดือนภาษีนั้น ๆ เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง
- Document year สำหรับการระบุช่วงเวลาที่มีการบันทึกรายการปีภาษีนั้น ๆ เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง
- Submit date ใช้สำหรับการระบุวันที่ที่ยื่นชำระภาษี
- Signer name สำหรับการระบุผู้ที่มีหน้าที่ยื่นชำระภาษี
- เมื่อระบุต่าง ๆ ตามข้อที่ 2 แล้วเรียบร้อย ให้กดปุ่ม Load หนึ่งครั้ง
- ข้อมูลจะแสดงขึ้นมาที่หน้าจอที่ถูกบันทึกผ่านหน้าจอต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกแบ่งตามประเภท Withholding Tax Code ที่ถูกกำหนดค่าเอาไว้ให้แยกตามประเภท PND 3
- หน้าจอจะแสดงข้อมูลสำหรับดูรายการที่ต้องการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ดังนี้
- Trans. Branch แสดงข้อมูลสาขาที่ถูกบันทึกตาม Transaction Branch ในแต่ละรายการ ซึ่งฟิลด์นี้จะใช้เฉพาะ Database ที่มีการ Config : Multiple Branch ไว้ในระบบเท่านั้น
- Doc No. แสดงข้อมูล **Object Type + Document Number ของเอกสารที่บันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่ายของรายการนั้น ๆ
- Sequence WHT แสดงข้อมูลลำดับที่ของรายการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- Document date แสดงข้อมูลสำหรับการระบุวันที่ออกหนังงสือรับรองฯ
- First name แสดงข้อมูลชื่อของผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- Last name แสดงข้อมูลนามสกุลของผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- Tax ID แสดงข้อมูลเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- Branch code แสดงข้อมูลเลขที่สาขา/สำนักงานใหญ่ของผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ถูกบันทึกรายการไว้
- Address แสดงข้อมูลที่อยู่ของผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- WHT Name ชื่อของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- Rate อัตราภาษีตามประเภทเงินได้ที่ถูกหักของแต่ละรายการ
- Taxable Amount แสดงข้อมูลจำนวนฐานที่นำมาคิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- WHT Amount แสดงข้อมูลจำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่จ่ายชำระ
- Codition แสดงข้อมูลประเภทผู้จ่ายเงินในแต่ละรายการที่บันทึกไว้
- Doc Status แสดงข้อมูลสถานะของเอกสารที่ถูกบันทึกรายการไว้
- เงินเพิ่ม(ถ้ามี) กรณีมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มผู้ใช้สามารถใส่มูลค่าของเงินเพิ่มลงไปที่ฟิลด์นี้ได้
- AP Invoice = PU
- AP Reserve Invoice = PU
- AP Down Payment = PD
- AP Credit Memo = PC
- Journal Entry = JE
- Outgoing Payment = PS
หมายเหตุ : **Object Type คือ อักษรย่อที่ระบบจะบันทึกไว้ในแต่ละ Transaction ว่าถูกสร้างผ่านเมนูใดบน SAP B1 โดยอักษรย่อในแต่ละเมนูต่างๆ มีดังต่อไปนี้
- บนหน้าจอ UDO : PND 3 จะมีปุ่มการทำงาน ดังนี้
- Add = การยืนยัน/การตกลง : เมื่อผู้ใช้งานตรวจสอบข้อมูลของรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องการจะยื่นชำระในรอบเดือนภาษีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการบันทึกค่าเพื่อดึงไปออกในแบบยื่นและใบแนบของ PND 3
- Cancel = การยกเลิก : เมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะยกเลิกรายการที่เรียกดูทั้งหมด หรือออกจากหน้า UDO : PND 3
- Load = การดึงข้อมูลขึ้นมาเพื่อแสดงรายการที่ยังไม่เคยมีการนำไปยื่นชำระภาษีตาม Criteria ที่ระบุในส่วน Header
- Print = การสั่งพิมพ์ : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Add ไปแล้วจะสามารถกดปุ่ม Print เพื่อสั่งพิมพ์ แบบยื่นและใบแนบตามข้อมูลในเดือนภาษีนั้น ๆ ได้ โดยการกดปุ่มสั่งพิมพ์นั้นประกอบด้วย
- ALL = การสั่งพิมพ์แบบยื่นและใบแนบพร้อมกัน
- Header = การสั่งพิมพ์เฉพาะแบบยื่น
- Detail = การสั่งพิมพ์ฉพาะใบแนบ
- Text File = การ Export Data สำหรับนำไป Import ผ่านโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลใบแนบแบบ ภ.ง.ด.3
- Copy Data = สำหรับการคัดลอก ข้อมูลรายการไปทำงานต่อ**
**ข้อจำกัด : ข้อมูลที่สามารถ Export เป็น Text file / Copy Data ได้ ฐานข้อมูลที่อยู่ของ ผู้ขาย (Vendor Master Data) จะต้องถูกบันทึกด้วยภาษาไทยเท่านั้นและอยู่ในรูปแบบที่กำหนดไว้ในหัวข้อ Business Partner : Vendor/Customer – ฐานข้อมูลของผู้ขายสินค้า/ลูกค้า เสมอ
- Submit = การบันทึก : เมื่อผู้ใช้งานตรวจสอบข้อมูลของรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องการจะยื่นชำระในรอบเดือนภาษีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการบันทึกค่าเพื่อดึงไปออกในแบบยื่นและใบแนบของ PND 3 และหากตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าถูกต้องผู้ใช้จะต้องกดปุ่ม Submit เพื่อให้ระบบสามารถบันทึกข้อมูลครั้งที่ยื่นชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อีกทั้งการกดปุ่ม Submit จะทำให้มีการบันทึกเอกสารอ้างอิงระหว่างเอกสารต้นทางกับรายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารใบดังกล่าวถูกยื่นชำระไปในรอบเดือนปีภาษีใด และการกดปุ่ม Submit จะทำให้ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใดๆบนหน้าจอ UDO : PND 3 ได้อีก
- Reject = การล้างข้อมูล : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Submit ไปเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบข้อมูลที่ผิดพลาดจึงทำให้ต้องดึงข้อมูลรายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายใหม่ ระบบจึงมีปุ่ม Reject ให้และเมื่อกดปุ่มนี้แล้วระบบจะคืนค่าที่Lockไว้ทั้งหมดให้ จากนั้นผู้ใช้จะต้องทำการดึงข้อมูลและกำหนด Status ในแต่ละรายการใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเอง
PND 3 Report – ขั้นตอนการสั่งพิมพ์แบบยื่นและใบแนบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เมื่อมีการบันทึกรายการข้อมูลการยื่นชำระรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ผู้ใช้สามารถกดปุ่มสั่งพิมพ์รายงานแบบยื่นและใบแนบได้จากระบบ
ขั้นตอนการสั่งพิมพ์
- ค้นหาเอกสารใน UDO : PND 3 ที่มีการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วกดปุ่มสัญลักษณ์รูปกล้องที่อยู่ทางด้านบน หรือ Ctrl + F
- หรือ ค้นหาเอกสารใน UDO : PND 3 ที่มีการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้โดยการระบุข้อมูลบางส่วนลงในช่องต่างๆ ที่ทราบข้อมูลเบื้องต้นจากนั้นกดปุ่ม <Find> ที่มุมซ้ายด้านล่าง
- กดปุ่ม Print = การสั่งพิมพ์ : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Add ไปแล้วจะสามารถกดปุ่ม Print เพื่อสั่งพิมพ์ แบบยื่นและใบแนบตามข้อมูลในเดือนภาษีนั้น ๆ ได้ โดยการกดปุ่มสั่งพิมพ์นั้นประกอบด้วย
- ALL = การสั่งพิมพ์แบบยื่นและใบแนบพร้อมกัน
- Header = การสั่งพิมพ์เฉพาะแบบยื่น
- Detail = การสั่งพิมพ์ฉพาะใบแนบ
- Text File= การ Export Data สำหรับนำไป Import ผ่านโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลใบแนบแบบ ภ.ง.ด.3 **
- Copy Data= สำหรับการคัดลอก ข้อมูลรายการไปทำงานต่อ**
**ข้อจำกัด : ข้อมูลที่สามารถ Export เป็น Text file / Copy Data ได้ ฐานข้อมูลที่อยู่ของ ผู้ขาย (Vendor Master Data) จะต้องถูกบันทึกด้วยภาษาไทยเท่านั้นและอยู่ในรูปแบบที่กำหนดไว้ในหัวข้อ Business Partner : Vendor/Customer – ฐานข้อมูลของผู้ขายสินค้า/ลูกค้า เสมอ
- จากนั้นหน้าจอจะแสดงแบบยื่นและใบแนบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ตัวอย่างแบบยื่น PND 3
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-PND3-2-1.png?resize=702%2C1024&ssl=1)
ตัวอย่างใบแนบ PND 3
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/image-1.png?resize=895%2C622&ssl=1)