PP 36 – ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลยื่นชำระรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงื่อนไขสำหรับการแสดงข้อมูลที่จะนำมาใช้สำหรับการทำรายการ “บันทึกยื่นรายการภาษีซื้อ ภ.พ.36” รวมถึงการสั่งพิมพ์รายงานภาษีที่ได้จากระบบ โดยเงื่อนไขที่มีดังต่อไปนี้
ตัวอย่างหน้าจอ UDO : PP.36
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-PP36-1.png?resize=895%2C376&ssl=1)
- กลุ่มภาษีซื้อ ภ.พ.36 ที่สามารถดึงข้อมูลมาบันทึกลงในหน้าจอ UDO : PP 36 ได้ ดังนี้
- P0700P = อัตราภาษีซื้อ 7% ภ.พ.36
- หน้าจอสำหรับการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ภ.พ.36
- PP.36 (หน้าจอสำหรับการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ภ.พ.36 ของกลุ่มภาษี P0700P เท่านั้น)
- หรือสามารถเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในระบบได้อีก
- การบันทึกข้อมูลภายใต้เอกสาร 1 รายการ จะสามารถใส่ข้อมูลของกลุ่มภาษีได้เพียง 1 รหัสภาษี เท่านั้น
- ฟิลด์สำหรับการเลือก Criteria บนหน้าจอ UDO : PP 36 ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ดังนี้
- Document month สำหรับการระบุช่วงเวลาที่มีการบันทึกรายการตามเดือนภาษีนั้น ๆ เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง
- Document year สำหรับการระบุช่วงเวลาที่มีการบันทึกรายการปีภาษีนั้น ๆ เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง
- Tax code สำหรับการระบุรหัสของกลุ่มภาษี เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง โดยจะแสดงรหัสของกลุ่มภาษีที่ให้เลือกตามหน้าจอ UDO ดังนี้
- หน้าจอ UDO PP 36 : P0700P
- Document Type สำหรับกำหนดกรณีที่ใช้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะแสดงตัวเลือกของแต่ละกรณีดังนี้
- 1.1 จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นการชั่งคราวฯ หรือให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ หรือให้แก่ผู้ประกอบการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่งคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว)
- 1.2 จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นการชั่งคราวฯ หรือให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ หรือให้แก่ผู้ประกอบการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (เป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร)
- 1.3 จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นการชั่งคราวฯ หรือให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ หรือให้แก่ผู้ประกอบการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (อื่นๆ ระบุ)
- 2 รับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0
- 3 ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่น นอกจากขายทอดตลาด
- รูปแบบการยื่นแบบ สำหรับเลือกการยื่นแบบภาษีโดยแบบเป็น 5 รูปแบบดังนี้
- Normal – ยื่นปกติ
- Add1 – ยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 1
- Add2 – ยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 2
- Add3 – ยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 3
- Add4 – ยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 4
- Remark สำหรับใส่รายละเอียดเพิ่มเติมของการยื่นภาษี
- ฟิลด์แสดงข้อมูลสำหรับดูรายการที่ต้องการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ภ.พ.36 ที่ต้องแสดงในส่วนของ Details อยู่บนหน้าจอ UDO : PP 36 ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ดังนี้
- Selected เลือกเอกสารที่ต้องการจะยื่นกรมสรรพากร
- Document date แสดงข้อมูลสำหรับการระบุวันที่ออกใบกำกับภาษีที่ต้องการให้แสดงบนหน้ารายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36
- Tax Invoice No. แสดงข้อมูลสำหรับการระบุเลขที่ใบกำกับภาษีที่ต้องการให้แสดงบนหน้ารายงานภาษีซื้อภ.พ.36
- Doc No. แสดงข้อมูล **Object Type + Document Number ที่บันทึกรายการ
- Full name แสดงข้อมูล ชื่อผู้ขาย ที่ถูกบันทึกในแต่ละรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
- Tax ID แสดงข้อมูลเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ขาย ที่ถูกบันทึกรายการไว้
- Branch code แสดงข้อมูลเลขที่สาขา/สำนักงานใหญ่ของ ผู้ขาย ที่ถูกบันทึกรายการไว้
- Price แสดงข้อมูลมูลค่าสินค้า/บริการที่ใช้คำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- Tax แสดงข้อมูลมูลค่าภาษีซื้อ ภ.พ.36 ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- Total แสดงข้อมูลมูลค่าสินค้า/บริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว
- Doc Status แสดงข้อมูลสถานะของเอกสารที่ถูกบันทึกรายการไว้
หมายเหตุ : **Object Type คือ อักษรย่อที่ระบบจะบันทึกไว้ในแต่ละ Transaction ว่าถูกสร้างผ่านเมนูใดบน SAP B1 โดยอักษรย่อในแต่ละเมนูต่างๆ มีดังต่อไปนี้ - AP Invoice = PU
- AP Reserve Invoice = PU
- AP Down Payment = PD
- AP Credit Memo = PC
- Journal Entry = JE
- Outgoing Payment = PS
- บนหน้าจอ UDO : PP 36 จะมีปุ่มการทำงาน ดังนี้
- Add = การยืนยัน/การตกลง : เมื่อผู้ใช้งานมีการระบุวันสถานะของรายการที่ต้องการจะยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในรอบเดือนภาษีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการบันทึกค่าเพื่อดึงไปออกในรายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36 ให้
- Cancel = การยกเลิก : เมื่อผู้ใช้มีการระบุวันที่ออกใบกำกับภาษีและเลขที่ใบกำกับภาษีเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องการที่จะยกเลิกรายการที่เรียกดูทั้งหมด หรือออกจากหน้า UDO : PP 36
- Load = การดึงข้อมูลขึ้นมาเพื่อแสดงรายการตาม Criteria ที่ระบุในส่วน Header
- Print = การสั่งพิมพ์ : เมื่อผู้ใช้แก้ไขรอบภาษีที่ต้องการยื่นชำระเรียบร้อยแล้วแต่ต้องการที่จะตรวจสอบความถูกต้องกับ นอกระบบ และต้องสามารถพิมพ์ออกมา ได้ทั้งในรูปแบบไฟล์ PDF/Excel
- Submit = การบันทึก : เมื่อผู้ใช้งานมีการระบุวันสถานะของรายการที่ต้องการจะยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในรอบเดือนภาษีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการบันทึกค่าเพื่อดึงไปออกในรายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36 ให้ และหากตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าถูกต้องผู้ใช้จะต้องกดปุ่ม Submit เพื่อให้ระบบสามารถดึงข้อมูลภาษีมูลเพิ่มในเดือนถัดไปได้ถูกต้อง อีกทั้งการกดปุ่ม Submit จะทำให้มีการบันทึกเอกสารอ้างอิงระหว่างเอกสารต้นทางกับรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารใบดังกล่าวถูกยื่นชำระไปในรอบเดือนปีภาษีใด และการกดปุ่ม Submit จะทำให้ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใดๆบนหน้าจอ UDO : PP 36 ได้อีก
- Reject = การล้างข้อมูล : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Submit ไปเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบข้อมูลที่ผิดพลาดจึงทำให้ต้องดึงข้อมูลรายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36 ใหม่ ระบบจึงมีปุ่ม Reject ให้และเมื่อกดปุ่มนี้แล้วระบบจะคืนค่าที่ Lockไว้ทั้งหมดให้ จากนั้นผู้ใช้จะต้องทำการดึงข้อมูล ในแต่ละรายการใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเอง
- เงื่อนไขแสดงข้อมูลสำหรับดูรายการที่ต้องการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ภ.พ.36 ที่ต้องแสดงในส่วนของ Details อยู่บนหน้าจอ UDO : PP 36 ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
หน้าจอ UDO : PP 36- ข้อมูลที่นำมาแสดงในหน้าจอ UDO : PP 36 นี้ จะต้องกรองตาม Criteria ที่ผู้ใช้งานเลือกเท่านั้น
- ข้อมูลที่นำมาแสดงในรายงานนี้ ต้องเป็นรายการที่ใช้รหัสกลุ่มภาษี P0700P ถึงสามารถดึงข้อมูลมาแสดงในหน้าจอ UDO : PP 36 เพื่อบันทึกสถานะในขั้นตอนถัดไปได้
รายงาน ภ.พ.36 เมื่อมีการบันทึกรายการข้อมูลการยื่นชำระรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ผู้ใช้สามารถกดปุ่มสั่งพิมพ์รายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36ได้จากระบบ
ขั้นตอนการสั่งพิมพ์
- ค้นหาเอกสารใน UDO : PP.36 ที่มีการบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วกดปุ่มสัญลักษณ์รูปกล้องที่อยู่ทางด้านบน หรือ Ctrl + F
- หรือ ค้นหาเอกสารใน UDO : PP.36 ที่มีการบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่มไว้โดยการระบุข้อมูลบางส่วนลงในช่องต่างๆ ที่ทราบข้อมูลเบื้องต้นจากนั้นกดปุ่ม <Find> ที่มุมซ้ายด้านล่าง
- กดปุ่ม Print = การสั่งพิมพ์ : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Add ไปแล้วจะสามารถกดปุ่ม Print เพื่อสั่งพิมพ์ รายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36 ตามข้อมูลในเดือนภาษีนั้น ๆ ได้
- จากนั้นหน้าจอจะแสดงรายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36 โดยจะแสดงเป็นรูปแบบของแบบยื่นของกรมสรรพากรโดยจะออกเป็น 1 แบบยื่นต่อ 1 รายการ
ตัวอย่างรายงาน ภ.พ.36
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-PP36-2-1.png?resize=771%2C1024&ssl=1)