Tax Input – ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลยื่นชำระรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงื่อนไขสำหรับการแสดงข้อมูลที่จะนำมาใช้สำหรับการทำรายการ “บันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ” รวมถึงการสั่งพิมพ์รายงานภาษีซื้อได้จากระบบ โดยเงื่อนไขที่มีดังต่อไปนี้
ตัวอย่างหน้าจอ UDO : Tax Input
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-IP-1-1.png?resize=842%2C361&ssl=1)
- กลุ่มภาษีซื้อที่สามารถดึงข้อมูลมาบันทึกลงในหน้าจอ UDO : Tax Input ได้ ดังนี้
- P0000I = อัตราภาษีซื้อ 0 %
- P0700I = อัตราภาษีซื้อ 7 %
- P0000E = อัตราภาษีซื้อยกเว้น
- หน้าจอสำหรับการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ
- Tax Input (หน้าจอสำหรับการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ของกลุ่มภาษี P0000I, P0700I, P0000E เท่านั้น)
- หรือสามารถเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในระบบได้อีก
- การบันทึกข้อมูลภายใต้เอกสาร 1 รายการ จะสามารถใส่ข้อมูลของกลุ่มภาษีได้เพียง 1 รหัสภาษี เท่านั้น
- ฟิลด์สำหรับการเลือก Criteria บนหน้าจอ UDO : Tax Input ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ดังนี้
- Document month สำหรับการระบุช่วงเวลาที่มีการบันทึกรายการตามเดือนภาษีนั้น ๆ เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง
- Document year สำหรับการระบุช่วงเวลาที่มีการบันทึกรายการปีภาษีนั้น ๆ เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง
- Tax code สำหรับการระบุรหัสของกลุ่มภาษี เพื่อจำกัดข้อมูลที่ต้องการในระบบแสดง โดยจะแสดงรหัสของกลุ่มภาษีที่ให้เลือกตามหน้าจอ UDO ดังนี้
- P0000I = อัตราภาษีซื้อ 0 %
- P0700I = อัตราภาษีซื้อ 7 %
- P0000E = อัตราภาษีซื้อยกเว้น
- Trans. Branch สำหรับการระบุเพื่อกรองรายการตาม Transaction Branch ที่มีการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ ซึ่งฟิลด์นี้จะใช้เฉพาะ Database ที่มีการ Config : Multiple Branch ไว้ในระบบเท่านั้น โดยฟิลด์ที่ใช้สำหรับการ Config : Multiple Branch นี้จะอยู่ภายใต้เมนู ดังนี้ Modules Administration > System Initialization > Company Details > Tab Basic Initialization > Fields Enable Multiple Branches
- ฟิลด์แสดงข้อมูลสำหรับดูรายการที่ต้องการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ที่ต้องแสดงในส่วนของ Details อยู่บนหน้าจอ UDO : Tax Input ประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ดังนี้
- Trans. Branch แสดงข้อมูลสาขาที่ถูกบันทึกตาม Transaction Branch ในแต่ละรายการ ซึ่งฟิลด์นี้จะใช้เฉพาะ Database ที่มีการ Config : Multiple Branch ไว้ในระบบเท่านั้น
- Selected เลือกเอกสารที่ต้องการจะยื่นกรมสรรพากร
- Document date แสดงข้อมูลสำหรับการระบุวันที่ออกใบกำกับภาษีที่ต้องการให้แสดงบนหน้ารายงานภาษีซื้อ
- Tax Invoice No. แสดงข้อมูลสำหรับการระบุเลขที่ใบกำกับภาษีที่ต้องการให้แสดงบนหน้ารายงานภาษีซื้อ
- Doc No. แสดงข้อมูล **Object Type + Document Number ที่บันทึกรายการ
- Full name แสดงข้อมูล ชื่อผู้ขาย ที่ถูกบันทึกในแต่ละรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
- Tax ID แสดงข้อมูลเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ขาย ที่ถูกบันทึกรายการไว้
- Branch code แสดงข้อมูลเลขที่สาขา/สำนักงานใหญ่ของ ผู้ขาย ที่ถูกบันทึกรายการไว้
- Price แสดงข้อมูลมูลค่าสินค้า/บริการที่ใช้คำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- Tax Code แสดงข้อมูลของรหัสภาษี
- Tax แสดงข้อมูลมูลค่าภาษีซื้อ/ภาษีขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- Total แสดงข้อมูลมูลค่าสินค้า/บริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว
- Doc Status แสดงข้อมูลสถานะของเอกสารที่ถูกบันทึกรายการไว้
- Status สำหรับการระบุสถานะของรายการที่ต้องการจะยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในรอบเดือนภาษีนั้นๆหมายเหตุ : **Object Type คือ อักษรย่อที่ระบบจะบันทึกไว้ในแต่ละ Transaction ว่าถูกสร้างผ่านเมนูใดบน SAP B1 โดยอักษรย่อในแต่ละเมนูต่างๆ มีดังต่อไปนี้
- AP Invoice = PU
- AP Reserve Invoice = PU
- AP Down Payment = PD
- AP Credit Memo = PC
- Journal Entry = JE
- Outgoing Payment = PS
- ข้อมูลที่แสดงในช่อง ‘Status’ คือ สถานะการบันทึกข้อมูลของขั้นตอนของการกำหนดรอบภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งสถานะที่จะแสดงค่าที่ช่องนี้ ได้แก่
หน้าจอ UDO : Tax Input- ยื่นชำระ คือ รายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องการบันทึกและยื่นชำระในรอบเดือนปีภาษีนั้นๆ
- เกินกำหนด คือ รายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกินระยะเวลากำหนดที่สามารถยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้
- ยกเลิก คือ รายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีการบันทึกเข้าไปในระบบ แต่มีการยกเลิกเอกสารหรือรายการดังกล่าว
- ไม่ขอคืน คือ รายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีการบันทึกเข้าไปในระบบ แต่ไม่ประสงค์ที่จะยื่นชำระภาษี
- ไม่เลือก คือ รายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีการบันทึกเข้าไปในระบบ แต่ยังไม่ประสงค์ที่จะยื่นชำระภาษีในรอบเดือนปีภาษีนั้นๆ
- บนหน้าจอ UDO : Tax Input จะมีปุ่มการทำงาน ดังนี้
- Add = การยืนยัน/การตกลง : เมื่อผู้ใช้งานมีการระบุวันสถานะของรายการที่ต้องการจะยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในรอบเดือนภาษีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการบันทึกค่าเพื่อดึงไปออกในรายงานภาษีซื้อให้
- Cancel = การยกเลิก : เมื่อผู้ใช้มีการระบุการเรียกดูรายการที่ต้องการนำไปยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว แต่ต้องการที่จะยกเลิกรายการที่เรียกดูทั้งหมด หรือออกจากหน้า UDO : Tax Input
- Load = การดึงข้อมูลขึ้นมาเพื่อแสดงรายการตาม Criteria ที่ระบุในส่วน Header
- Print = การสั่งพิมพ์ : เมื่อผู้ใช้แก้ไขรอบภาษีที่ต้องการยื่นชำระเรียบร้อยแล้วแต่ต้องการที่จะตรวจสอบความถูกต้องกับ นอกระบบ และต้องสามารถพิมพ์ออกมา ได้ทั้งในรูปแบบไฟล์ PDF/Excel
- Submit = การบันทึก : เมื่อผู้ใช้งานมีการระบุวันสถานะของรายการที่ต้องการจะยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในรอบเดือนภาษีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการบันทึกค่าเพื่อดึงไปออกในรายงานภาษีซื้อให้ และหากตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าถูกต้องผู้ใช้จะต้องกดปุ่ม Submit เพื่อให้ระบบสามารถดึงข้อมูลภาษีมูลเพิ่มในเดือนถัดไปได้ถูกต้อง อีกทั้งการกดปุ่ม Submit จะทำให้มีการบันทึกเอกสารอ้างอิงระหว่างเอกสารต้นทางกับรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารใบดังกล่าวถูกยื่นชำระไปในรอบเดือนปีภาษีใด และการกดปุ่ม Submit จะทำให้ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใดๆบนหน้าจอ UDO : Tax Input ได้อีก
- Reject = การล้างข้อมูล : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Submit ไปเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบข้อมูลที่ผิดพลาดจึงทำให้ต้องดึงข้อมูลรายงานภาษีซื้อใหม่ ระบบจึงมีปุ่ม Reject ให้และเมื่อกดปุ่มนี้แล้วระบบจะคืนค่าที่ Lockไว้ทั้งหมดให้ จากนั้นผู้ใช้จะต้องทำการดึงข้อมูลและกำหนด Status ในแต่ละรายการใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเอง
- เงื่อนไขแสดงข้อมูลสำหรับดูรายการที่ต้องการบันทึกยื่นชำระรายการภาษีซื้อ ที่ต้องแสดงในส่วนของ Details อยู่บนหน้าจอ UDO : Tax Input ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
หน้าจอ UDO : Tax Input- ข้อมูลที่นำมาแสดงในหน้าจอ UDO : Tax Input นี้ จะต้องกรองตาม Criteria ที่ผู้ใช้งานเลือกเท่านั้น
- ข้อมูลที่นำมาแสดงในรายงานนี้ ต้องเป็นรายการที่ใช้รหัสกลุ่มภาษี P0700I, P0000I, P0000E ถึงสามารถดึงข้อมูลมาแสดงในหน้าจอ UDO : Tax Input เพื่อบันทึกสถานะในขั้นตอนถัดไปได้
- ข้อมูลในแต่ละรายการที่แสดงอยู่ในช่อง ‘Status’ มีเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลในแต่ละรายการที่แสดงอยู่ในช่อง ‘Status’ จะต้องยังไม่มีการกำหนดสถานะ “ยื่นชำระ” ไว้ในเอกสารอื่น
- ข้อมูลในแต่ละรายการที่แสดงอยู่ในช่อง ‘Status’ รายการใดมีการบันทึก Doc. Status ไว้เป็นยกเลิก ระบบจะต้อง Default ไว้เป็น “ยกเลิก” และไม่สามารถแก้ไขให้เป็นค่าอื่นได้
- ข้อมูลในแต่ละรายการที่แสดงอยู่ในช่อง ‘Status’ ให้แสดงเป็น Drop down list ให้ผู้ใช้งานเลือกเพื่อกำหนดรอบภาษีที่ต้องยื่น โดยระบบจะต้อง Default ไว้เป็น “ยื่นชำระ”
- การ Lock ไม่ให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแปลงรอบภาษีที่ต้องยื่นได้ มีกรณีต่างๆ ดังนี้
- เอกสารที่แสดงรายการภาษีซื้อดังกล่าวต้องมีอายุนับจากวันที่ใบกำกับภาษีไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งหากเอกสารรายการภาษีซื้อรายการใดที่เกินกำหนดแล้ว ข้อมูลที่แสดงตามเงื่อนไขข้อด้านบน ระบบจะต้อง Default ค่ารอบภาษีที่ต้องชำระ เป็น ‘เกินกำหนด’ แทน และรายการดังกล่าวจะต้อง Lock ไม่ให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแปลงรอบภาษีที่ต้องยื่นได้
- หากเอกสารที่แสดงรายการภาษีซื้อดังกล่าวยังไม่เกินกำหนดในการใช้รอบภาษีซื้อในรอบกำลังกำหนดอยู่ แต่หากนำรายการนี้ไปกำหนดในรอบภาษีซื้อรอบถัดไป ก็เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามข้อด้านบนระบบจะต้องกำหนดค่ารอบภาษีที่ต้องชำระ เป็น ‘เดือนปีภาษีที่กำลังดำเนินการอยู่’ เท่านั้น
- ตัวอย่างเช่น เอกสารลงวันที่ 15/ม.ค./2023 และปัจจุบันผู้ใช้งานกำลังจะกำหนดยื่นชำระภาษีของเดือน 2023-Jun ซึ่งเมื่อคำนวณระยะเวลาจากเดือนภาษีของเอกสาร คือ มกราคม นับไป 6 เดือน ระบบจะยังคำนวณว่ายังไม่เกินกำหนด แต่หากผู้ใช้งานเปลี่ยนค่ารอบภาษีไปเป็น 2023-Jul หรือ ไม่เลือก ระบบจะต้องไม่สามารถให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากจะเลยสิทธิ์ที่สามารถใช้ภาษีได้
- วิธีการคำนวณระยะเวลา ที่สามารถใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้ ดังนี้
- รอบเดือนปีภาษีที่ต้องชำระ จะนับตามเดือน
- วันที่บนใบกำกับภาษี ที่ระบุไว้ที่ฟิลด์ Posting Date ถือเป็นโดยยึดจากเดือนบนเอกสารเป็นเดือนเริ่มต้น
- หากเอกสารระบุวันที่ 15/ม.ค./2023 และรอบภาษีที่กำหนดเป็นรอบ 2023-May ระยะเวลาการนับจะเริ่มนับจาก เดือน มกราคม ถึง เดือน พฤษภาคม ระบบจะถือว่ายังไม่เกินกำหนดในการใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้
- หากเอกสารระบุวันที่ 1 Jan 2023 และรอบภาษีที่กำหนดเป็นรอบ 2023-Jun ระยะเวลาการนับจะเริ่มนับจาก เดือน มกราคม ถึง เดือน มิถุนายน ระบบจะถือว่ายังไม่เกินกำหนดในการใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้
- หากเอกสารระบุวันที่ 15 Jan 2023 และรอบภาษีที่กำหนดเป็นรอบ 2023-Jul ระยะเวลาการนับจะเริ่มนับจาก เดือน มกราคม ถึง เดือน กรกฎาคม ระบบจะถือว่ายังเกินกำหนดในการใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้
- กรณีข้อมูลในแต่ละรายการที่แสดงอยู่ในช่อง ‘รอบเดือนปีภาษีที่ต้องยื่นชำระ’ โดยผู้ใช้งานไม่สามารถใช้สิทธิ์ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เลยจำเป็นจะต้องระบุค่ารอบภาษีเป็น ‘ไม่ขอคืน’ โดยมีรายละเอียดอื่นๆ ดังนี้
- รายการใดที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ภาษีซื้อได้ จะต้องระบุในช่อง ‘Status’ เป็นค่า ‘ไม่ขอคืน’
- หากรายการใดที่มีการกำหนดรอบภาษีที่ต้องยื่น ที่ถูกกำหนดไว้เป็น ‘ไม่ขอคืน’ และรายการนั้นๆมีการกดปุ่ม Add เพื่อยืนยันข้อมูล รายการดังกล่าวจะถูกปิดสถานะและไม่ออกในรายงานภาษีซื้อ
- รายการใดที่มีการกำหนดรอบเดือนปีภาษีที่ต้องยื่นชำระ ที่แสดงตามเงื่อนไขข้างต้นและมีการกดปุ่ม Add เพื่อยืนยันข้อมูลไปแล้ว ในครั้งถัดไปข้อมูลที่ดึงมาแสดงในหน้าจอ UDO : Tax Input จะต้องไม่มีรายการดังกล่าวแล้ว
Tax Report – รายงานภาษีซื้อ
เมื่อมีการบันทึกรายการข้อมูลการยื่นชำระรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ผู้ใช้สามารถกดปุ่มสั่งพิมพ์รายงานภาษีซื้อได้จากระบบ
ขั้นตอนการสั่งพิมพ์
- ค้นหาเอกสารใน UDO : Tax Input ที่มีการบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วกดปุ่มสัญลักษณ์รูปกล้องที่อยู่ทางด้านบน หรือ Ctrl + F
- หรือ ค้นหาเอกสารใน UDO : Tax Input ที่มีการบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่มไว้โดยการระบุข้อมูลบางส่วนลงในช่องต่างๆ ที่ทราบข้อมูลเบื้องต้นจากนั้นกดปุ่ม <Find> ที่มุมซ้ายด้านล่าง
- กดปุ่ม Print = การสั่งพิมพ์ : เมื่อผู้ใช้มีการกดปุ่ม Add ไปแล้วจะสามารถกดปุ่ม Print เพื่อสั่งพิมพ์ รายงานภาษีซื้อตามข้อมูลในเดือนภาษีนั้น ๆ ได้
- จากนั้นหน้าจอจะแสดงรายงานภาษีซื้อ
ตัวอย่างรายงานภาษีซื้อ
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-IP-2.png?resize=895%2C537&ssl=1)