Value Add Tax – ฐานข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม
การสร้างกลุ่มรหัสภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Groups) เป็นการสร้างฐานข้อมูลหลักเกี่ยวกับภาษีที่ใช้สำหรับการบันทึกบัญชีภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายการค้า ซึ่งกิจการในประเทศภาษีที่เกี่ยวข้องและมีอยู่ในรายการค้านั้นคือภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ใช้งานจะต้องมีการเพิ่มประเภทภาษีให้ถูกต้องด้วย จะประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
ตัวอย่างหน้าจอ ฐานข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-Master-1.png?resize=895%2C219&ssl=1)
โดยรหัสภาษีที่ใช้สำหรับการบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Groups) จะประกอบด้วย
- P0700I = อัตราภาษีซื้อ 7 %
- P0000I = อัตราภาษีซื้อ 0 %
- P0000E = อัตราภาษีซื้อยกเว้น
- P0700P = อัตราภาษีซื้อ 7 % ภพ.36
- P0700S = อัตราภาษีซื้อยังไม่ถึงกำหนดชำระ 7 %
- S0700I = อัตราภาษีขาย 7 %
- S0000I = อัตราภาษีขาย 0 %
- S0000E = อัตราภาษีขายยกเว้น
- S0700S = อัตราภาษีขายรอเรียกเก็บ 7 %
- S0700U = อัตราภาษีขายรอเรียกเก็บ 7 % (Foreign)
- A0700I = อัตราภาษีซื้อเฉลี่ย 7 %
- A0700S = อัตราภาษีซื้อเฉลี่ย 7 % รอใบกำกับภาษี
Fields Name | Fields Code | Description |
Code | Code | รหัสภาษี |
Inactive | Inactive | ใส่เครื่องหมายถูกในช่องเมื่อไม่ใช้งาน |
Name | Name | ชื่อภาษี |
Category | Category | ประเภทของภาษี |
Service Supply | ServSupply | I = PP.30 ใช้ในภาษีซื้อ/ขาย P = PP.36 ใช้ในภาษีซื้อ ภ.พ.36 |
Effective from | EffecDate | วันที่มีผลการใช้งาน |
Rate % | Rate | เปอร์เซ็นต์ภาษี |
Non Deduct. % | NonDct | อัตราภาษีที่ได้รับยกเว้น |
Tax Account | Account | บัญชีภาษี |
Deferred Tax Account | DeferrAcc | บัญชีภาษีกลับรายการ |
Non Deduct. Acct | NonDedAcc | บัญชีส่วนต่างภาษีเฉลี่ย |
Withholding Tax – ฐานข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การสร้างกลุ่มรหัสภาษีเงินได้/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) เป็นการสร้างฐานข้อมูลหลักเกี่ยวกับภาษีที่ใช้สำหรับการบันทึกบัญชีภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายการค้า ซึ่งกิจการในประเทศภาษีที่เกี่ยวข้องและมีอยู่ในรายการค้านั้นคือภาษีเงินได้พึงประเมินหรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในระบบสามารถคำนวณวิธีการหัก ณ ที่จ่ายให้อัตโนมัติได้แต่จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลสำหรับการคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ด้วย และผู้ใช้งานจะต้องมีการเพิ่มประเภทภาษีให้ถูกต้อง จะประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
ตัวอย่างหน้าจอ ฐานข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-Master-2.png?resize=895%2C397&ssl=1)
Fields Name | Fields Code | Description |
WTax Code | WTCode | รหัสภาษีหัก ณ ที่จ่าย |
Inactive | Inactive | ใส่เครื่องหมายถูกในช่องเมื่อไม่ใช้งาน |
WTax Name | WTName | ชื่อภาษีหัก ณ ที่จ่าย |
Category | Category | ประเภทการบันทึกภาษี – Invoice : เมื่อตั้งหนี้เอกสาร – Payment : เมื่อชำระเงิน |
Effective From | EffecDate | วันที่มีผลการใช้งาน |
Rate | Rate | เปอร์เซ็นต์ภาษี |
Base Type | BaseType | คำนวนจากมูลค่ายอดใด – Net : ยอดก่อนVat – Gross : ยอดหลังVat |
% Base Amount | PrctBsAmnt | ฐานเปอร์เซ็นต์ในการคำนวณ |
Account | FormatCode | รหัสบัญชีภาษี |
WTax Type | U_xWTaxType | ประเภทภาษี |
WTax Line | U_xWTaxLine | ประเภทเงินได้พึงประเมิน |
Wtax 5 | U_xWTax5 | ระดับบรรทัดที่อยู่บนเอกสาร |
ความหมายของ WTax Code ใน Withholding Tax เบื้องต้นที่ทาง Nexus กำหนดไว้ ประกอบด้วย
- WTax Code จะกำหนดไว้ทั้งหมด 4 หลัก
- หลักที่ 1 แทนด้วยกลุ่ม นิติบุคคล / บุคคลธรรมดา กับ รายการค้าที่ใช้สำหรับการบันทึกบัญชี
- ขึ้นต้นด้วย A คือ กลุ่มนิติบุคคล ที่ใช้สำหรับการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย ใบแจ้งหนี้
- ขึ้นต้นด้วย B คือ กลุ่มบุคคลธรรมดา ที่ใช้สำหรับการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย ใบแจ้งหนี้
- ขึ้นต้นด้วย C คือ กลุ่มนิติบุคคล ที่ใช้สำหรับการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย จ่ายชำระเงิน
- ขึ้นต้นด้วย P คือ กลุ่มบุคคลธรรมดา ที่ใช้สำหรับการบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย จ่ายชำระเงิน
- ขึ้นต้นด้วย X คือ กลุ่มนิติบุคคล ที่ใช้สำหรับการบันทึกภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย รับชำระเงิน
- หลักที่ 2 แทนด้วยการเรียงลำดับ ตั้งแต่ A-Z โดยคำนึงจากหลักที่ 1 และ หลักที่ 3+4
- หลักที่ 3 และ 4 แทนด้วยอัตรา%ภาษีเงินได้ ในแต่ละประเภท เช่น ค่าบริการหัก 3% จะใช้เลข 03 , ค่าขนส่งหัก 1% จะใช้เลข 01 , เงินปันผลหัก10% จะใช้เลข 10 เป็นต้น
Running VAT Tax – กำหนดการบันทึกค่าเลขที่ใบกำกับภาษี
การกำหนดการบันทึกค่าเลขที่ใบกำกับภาษีใช้สำหรับการบันทึกเลขที่ใบกำกับภาษีให้ Running เพื่อออกบนแบบฟอร์มใบกำกับภาษี และ รายงานภาษีขาย โดย Running เลขที่ตามเงื่อนไขดังนี้
*** หากผู้ใช้งานต้องการให้ระบบ Running เลขที่ใบกำกับให้ผู้ใช้งานจำเป็นต้องสร้างการบันทึกเลขที่ใบกำกับภาษีให้ระบบในแต่ละเดือนเสมอ
- Running เลขที่ใบกำกับภาษี สามารถแยกตาม Period Indicator ได้
- Running เลขที่ใบกำกับภาษี จะสามารถกำหนดรูปแบบข้อความได้ Prefix + Running
- Running เลขที่ใบกำกับภาษี จะสามารถแยกตาม Vat Groups ได้ ยกเว้นภาษีขายไม่ถึงกำหนด 7%
- Running เลขที่ใบกำกับภาษี จะสามารถแยกตาม Transaction Branch (กรณีนี้ใช้สำหรับ Database ที่มีการ Config : Multiple Branch)
- ไม่มีการ Running เลขที่ใบกำกับภาษี ในเอกสารที่มีการยกเลิก “Cancellation”
ตัวอย่างหน้าจอ Running VAT Tax – กำหนดการบันทึกค่าเลขที่ใบกำกับภาษี
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-Master-3.png?resize=895%2C387&ssl=1)
Fields Name | Fields Code | Description |
Code | Code | รหัสของลำดับการRunning |
Name | Name | ชื่อของลำดับการRunning |
Prefix | U_xPrefix | คำนำหน้าเลขRunning (ไม่เกิน10) |
First No. | U_xFirstNo | เลขRunningลำดับแรก (ไม่เกิน10) |
Next No. | U_xNextNo | เลขRunningลำดับถัดไป (ไม่เกิน10) |
Last No. | U_xLastNo | เลขRunningลำดับสุดท้าย (ไม่เกิน10) |
Vat Groups | U_xVatGroups | กลุ่มรหัสภาษีที่ใช้สำหรับการRunningเลขใบกำกับชุดนี้ **หากการRunningมีกลุ่มรหัสภาษีมากกว่าหนึ่งให้ใส่เครื่องหมาย (,) คั้นตามด้วยกลุ่มรหัสภาษีตัวถัดไป |
Period Ind. | U_xPeriodInd | ขอบเขตรอบระยะเวลาบัญชีที่ให้ใช้สำหรับการRunningเลขใบกำกับชุดนี้ |
Inactive | U_xInactive | สถานะการให้ใช้งาน/ไม่ใช้งาน |
Branch | U_xBranch | รหัสสาขา (ถ้ามี) สำหรับกรณีมีการConfig Multiple Branch |
Running WHT Tax – กำหนดการบันทึกค่าเลขที่/ลำดับที่ของหนังสือรับรองฯ
การกำหนดในการบันทึกค่าเลขที่/ลำดับที่ ใช้สำหรับการ Running เลขที่/ลำดับที่ บนแบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดย Running เลขที่/ลำดับที่ Withhoding Tax ตามเงื่อนไขดังนี้
*** หากผู้ใช้งานต้องการให้ระบบ Running เลขที่/ลำดับที่ ให้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องสร้างการบันทึกเลขที่/ลำดับที่ให้ระบบในแต่ละเดือนเสมอ
- Running เลขที่/ลำดับที่ แยกตามเดือนภาษี
- Running เลขที่/ลำดับที่ ทั้งหมด 4 หลัก โดยเริ่มจาก 0001 – 9999
- Running เลขที่/ลำดับที่ แยกตาม WTax Type
- Running เลขที่/ลำดับที่ แยกตาม Transaction Branch (กรณีนี้ใช้สำหรับ Database ที่มีการ Config : Multiple Branch)
- ไม่มีการ Running เลขที่/ลำดับที่ ในเอกสารที่มีการยกเลิก “Cancel”
ตัวอย่างหน้าจอ Running WHT Tax – กำหนดการบันทึกค่าเลขที่/ลำดับที่ของหนังสือรับรองฯ
![](https://i0.wp.com/online.nexcloudsolution.com/wp-content/uploads/2023/08/Pictures-THL-Master-4.png?resize=895%2C383&ssl=1)
Fields Name | Fields Code | Description |
Code | Code | รหัสของลำดับการRunning |
Name | Name | ชื่อของลำดับการRunning |
WTaxType | U_xWTaxType | ประเภทของภ.ง.ด.ที่จะให้Running |
Period (YYYYMM) | U_xPeriod | ขอบเขตรอบระยะเวลาบัญชีที่ให้ใช้สำหรับการRunningเลขที่/ลำดับที่ |
Running | U_xRunning | เลขRunningลำดับถัดไปที่ระบบจะให้ใช้งาน |
Branch | U_xBranch | รหัสสาขา (ถ้ามี) สำหรับกรณีมีการConfig Multiple Branch |
Prefix | U_xPrefix | คำนำหน้าเลข Running |
Next No. (WHT No.) | U_xNextNo | เลข Running ลำดับถัดไป |